หน้าเว็บ

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สตีเฟน ฮอว์กิ้ง Stephen William Hawking





สตีเฟน ฮอว์กิ้ง


สตีเฟน ฮอว์กิ้ง Stephen William Hawking  เกิดวันที่ 8 มกราคม 1942

ที่เมือง Oxford ประเทศอังกฤษ


- เกิดในปีครบรอบ 300 ปีของการจากไปของ กาลิเลโอ สุดยอด

บุคคลสำคัญของโลกอีกคน


- ตอนเป็นเด็กสมัยเรียนเขาเป็นคนฉลากแต่ไม่ได้ถึงกับโดดเด่นกว่าคนอื่น

   มากนัก


- เขาสนใจเรียนด้านฟิสิกส์ โดยเฉพาะในเรื่องของจักรวาลวิทยา ที่Oxford


- จบการศึกษาด้วยเกียรตินิยมในสาขา natural science และได้เข้าศึกษาต่อ

   ที่ Cambridge University เพื่อศึกษาจักรวาลวิทยาในระดับปริญญาเอก


- เขามีความผิดปกติทางร่างกายและสุขภาพ ต้องเป็นโรค ALS myotrophic

   lateral sclerosis ในขณะที่เรียนอยู่ที่ Oxford ภาวะที่เส้นประสาทส่วนที่

   ทำให้การควบคุมกล้ามเนื้อไม่สามารถทำงานได้หมอบอกว่าเขามีเวลา

   ไม่นานประมาณ 2ปีครึ่งที่จะมีชีวิตอยู่ แต่เขามีกำลังใจจากเด็กผู้ชายที่

   ป่วยเป็นลูคีเมีย ที่รักษาตัวในห้องเดียวกับเขา (สุดท้ายเขาก็อยู่จนถึง

   วันนี้นะ)  กล้ามเนื้อจะอ่อนแอลงจนเกือบเป็นอัมพาต แต่เขายังคงทำงาน

   วิชาการต่อไป จนมีงานและความรู้ต่างๆออกมาให้เราได้ศึกษากันครับ


งานของเขามีอะไรบ้าง


- เป็นที่รู้จักผลงานเด่นจากงานวิจัยเรื่องหลุมดำ เขาศึกษาหลุมดำจากการ

   อ่านรายงานของนักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ ชื่อ โรเจอร์ เพนโรส

   (Roger Penrose) ซึ่งเพนโรสเสนอทฤษฎีที่ว่าดวงดาวที่ระเบิดอยู่ภายใต้

   แรงโน้มถ่วงของตัวเอง จะมีปริมาตรเป็นศูนย์


- ฮอว์คิงและเพนโรสก็ได้ร่วมกันเขียนรายงานสรุปว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพ

   ทั่วไปของไอน์สไตน์ นั้นกำหนดให้เอกภพต้องเริ่มต้นในซิงกูลาริตี้

   ซึ่งปัจจุบันนี้รู้จักกันว่า บิ๊กแบง และจะสิ้นสุดลงที่ หลุมดำ


- เขายังค้นพบว่าหลุมดำ ไม่ใช่หลุ่มดำมืดเสียทีเดียวแต่มีรังสีออกมา มี

   แรงโน้มถ่วงและมวลมหาศาล แต่สุดท้ายหลุมดำนี้ก็จะระเหิดหายไป

   เป็นการค้นพบที่สุดยอดของเขาเลยทีเดียว


- สสารหนึ่งในรูปของรังสีสามารถฝ่าพ้นแรงโน้มถ่วงของหลุมดำออกมาได้

   ซึ่งภายหลังถูกเรียกว่า รังสี Hawking งานวิจัยนี้เป็นการทำให้จักรวาลวิทยา

   ตกตะลึงเป็นอย่างมาก


- ถึงเขาจะประสบความสำเร้จมากมายนั้นแต่ร่างกายของเขาก็แสดงอาการ

   แย่ลงอยู่เรื่อยๆไปพร้อมกันด้วย


- เขาได้เป็นสมาชิกที่มีอายุน้อยที่สุดของราชบัณฑิตยสถานของอังกฤษ

   และได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาฟิสิกส์แรงโน้มถ่วง ที่มหาวิทยาลัย

   เคมบริดจ์


- ได้รับการแต่งตั้งเป็น “เมธีคณิตศาสตร์ลูเคเชียน” Lucasian Chair of

   Mathematics เป็นคนที่ 2 ต่อจาก เซอร์ไอแซก นิวตัน 


- เขาได้รับการยกย่องเทียบเคียงกับ เซอร์ไอแซก นิวตัน  และ ไอนสไตน์


- รังสีฮอว์คิง เป็นการแผ่รังสีของวัตถุดำที่ถูกปล่อยออกมาจากหลุมดำ

   อันเนื่องจากกรากฎการณ์ทางควอนตัม ณ บริเวณใกล้ขอบฟ้าเหตุการณ์

   โดยตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ สตีเฟน ฮอว์คิง 


- ทฤษฎีโน้มถ่วงเชิงควอนตัม เป็นทฤษฎีที่พยายามรวม กลศาสตร์ควอนตัม

   ซึ่งอธิบายแรงพื้นฐาน สามแรงคือ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม

   และแรงนิวเคลียร์แบบอ่อน เข้ากับ ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์


- จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ


- เป็นการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างขนาดใหญ่ของจักรวาลและพลศาสตร์

   ของเอกภพของเรา การกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ


รางวัลที่ได้รับ 


Adams Prize (1966)


FRS (1974)


Eddington Medal (1975)


Maxwell Medal and Prize (1976)


Heineman Prize (1976)


Hughes Medal (1976)


Albert Einstein Award (1978)


CBE (1982)


RAS Gold Medal (1985)


Dirac Medal (1987)


Wolf Prize (1988)


CH (1989)


Prince of Asturias Award (1989)


Andrew Gemant Award (1998)


Naylor Prize and Lectureship (1999)


Lilienfeld Prize (1999)


Albert Medal (Royal Society of Arts) (1999)


Copley Medal (2006)


Presidential Medal of Freedom (2009)


Fundamental Physics Prize (2012)


FRSA


- ฮอว์คิงแต่งงานครั้งแรกกับเจน ไวลด์ ภายหลังได้หย่าร้าง และแต่งงานใหม่

   กับพยาบาล ชื่อ เอเลน เมสัน


- ณปัจจุบันด้วยอาการป่วยที่เขาเป็นมาตั้งแต่เด็ก เขาจึงต้องนั่งรถไฟฟ้า

   ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเขาพูดและขยับตัวไม่ได้

   ทำได้เพียงขยับนิ้วและกะพริบตา ถึงอย่างนั้นก็ยังสามารถสื่อสารกับโลก

   ภายนอกได้ด้วยอุปกรณ์พิเศษที่สังเคราะห์เสียงพูดได้จากตัวอักษร

   ยังสามารถบอกกล่าวความรู้ในหัวสมองอันอัจฉริยะของเขาให้ผู้อื่นได้

   รับรู้อย่างต่อเนื่อง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น