หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

จอร์จ ไซมอน โอห์ม ( George Simon Ohm)





จอร์จ ไซมอน โอห์ม ( George Simon Ohm)


จอร์จ ไซมอน โอห์ม ( George Simon Ohm)


 - เกิดในวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1787 บ้านเกิดของเขาอยู่ที่เมืองเออร์แลงเกน

ในประเทศเยอร์มนี


 - บิดาของเขาชื่อว่า โจฮัน โอห์ม (John Ohm) มีอาชีพเป็นช่างทำกุญแจ และปืน


 - โอห์มเป็นคนใฝ่รู้ใฝ่เรียนถึงแม้ครอบครัวของเขาจะค่อนข้างยากจนแต่เขา

ก็ไม่ทิ้งการเรียน


 - เขาจบการศึกษาในช่วงแรกจากโรงเรียนรีลสคูลในแบมเบิร์ก และต่อที่

มหาวิทยาลัยแห่งเมืองเออร์แลงเกน (University of Erlangen) ซึ่งเขาได้ศึกษา

เกี่ยวกับ วิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์


 - แต่ด้วยที่บ้านเขายากจนทำให้เขาเรียนอยู่ที่นั่นได้เพียงปีเดียวก็ต้องลาออกมา


 - ต่อมาเขาก็ได้เข้าไปเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนแห่งหนุ่งในเมือง เบิร์น

สวิสเซอร์แลนด์ เมื่อมีรายได้มากพอเขาก็ได้ศึกษาต่อ และทำงานไปด้วย

จนสามารถจบปริญญาเอกคณิตศาสตร์


 - ปี ค.ศ. 1817 โอห์มได้รับเชิญจากพระเจ้าเฟรดเดอริคแห่งปรัสเซีย ให้เข้ามานั่ง

ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์สอนวิชาคณิตศาสตร์ ประจำวิทยาลัยจีสุท


 (Jesuit College) แห่งมหาวิทยาลัยโคโลญ (Cologne University)


 - ในปี ค.ศ. 1822 โจเซฟ ฟอร์เรอร์ นักวิทยาศาสตร์จากฝรั่งเศสไปออกผลงาน

ชื่อว่า การไหลของความร้อน ซึ่งพูดเกี่ยวกับเรื่องการเคลื่อนที่ของความร้อน


เมื่อ จอร์จ ไซม่อน โอห์ม ได้อ่านก็มีความสนใจเกิดแรงบันดาลใจที่จะทำเรื่องนี้

แต่เป็นกับไฟฟ้าดูบ้าง โดยใช้การทดลองและหลักการเดียวกัน


 - เขาได้เริ่มทดสอบงานของเขามากมายการเคลื่อนที่ของไฟฟ้าด้วยตัวนำไฟฟ้า

เช่น ทองแดง เงิน หรืออะลูมิเนียม ซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้าที่เขาคิดว่าดี


 - หลังจากที่ โอห์ม ทดลอง วัดผล จนสำเร็จ เขาก็ได้ไปเป็นอาจารย์ที่ยิมเนเซียม


 - ปี ค.ศ. 1826 โอห์มได้จัดพิมพ์หนังสือออกมาเล่มหนึ่งชื่อว่า Bestimmung

des Gesetzes nach Welohem die Metalle die Kontaktee


 - ให้หลังอีกแค่ปีเดียวเขาก็ทดลองเรื่องเกี่ยวกับไฟฟ้าจนค้นพบ ความจริง

อีก 2 ประเด็นคือ 1. ความยาวของสายไฟ ถ้ายิ่งยาวมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีความ

ต้านทานไฟฟ้ามากและยิ่งมีพื้นที่หน้าตัดมากก็ยิ่งต้านทานไฟฟ้ามากเช่นกัน

ทำให้กระแสไฟฟ้านั้นสามารถไหลได้น้อยลง เขาจึงได้เขียนการค้นพบนี้

ลงในหนังสือ Die Galvanisehe Katte Mathemetisoh Bearbeitet


 - หนังสือ ข้างบนที่ว่ามานั้นมีการอธิบายเกี่ยวกับ การทดลงอของเขาซึ่งเขา

ตั้งชื่อมันว่ากฎของโอห์ม (Ohm's Law) โดยมีหลักสำคัญว่า การเคลื่อนที่

ของกระแสไฟฟ้าที่ผ่านตัวนำไฟฟ้า ใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้า

กับ ความต่างศักย์ไฟฟ้า และ กระแสไฟฟ้ากับความต้านทาน กล่าวคือ

กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวนำใดๆ แปรผันโดยตรงกับความต่างศักย์

(แรงดันไฟฟ้า หรือแรงดันตกคร่อม)


 (คือกระแสมีค่ามากหรือน้อยตามความต่างศักย์นั้น)  บรรยายการทดลอง

วัดค่าแรงดันและกระแสผ่านลวดความยาวต่าง ๆ กัน


 - โดยที่ V คือความต่างศักย์ มีหน่วยเป็น โวลต์  //  I คือกระแสในวงจร

หน่วยเป็น แอมแปร์ และ R คือความต้านทานในวงจร หน่วยเป็น โอห์ม


 - แทนที่ผลงานของเขาจะเป้นที่ยอมรับในบ้านเกิดเขาเอง ที่เยอรมัน

แต่กลับโดนต่อต้านเพราะความที่ไมเข้าใจ ไม่รู้เรื่อง แต่กลับชาติอื่นๆ

ในตะวันตกผลงานของ


จอร์จ ไซม่อน โอห์ม นั้นเป็นที่สนใจและดูมีค่าอย่างยิ่ง


 - ในปี ค.ศ. 1841 โอห์มได้รับมอบเหรียญคอพเลย์ (Copley Medal) จาก

ราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน (Royal Society of London) และได้รับเชิญ

ให้เป็นสมาชิกในสมาคมนี้อีกด้วยในปีถัดมา ทำให้ทางเยอรมันเริ่มสนใจ

ในตัวโอห์มมากขึ้น


 - ในปี ค.ศ. 1849 เขาเดินทางกลับไปเยอรมันบ้านเกิด หลังจากที่อยู่อังกฤษ

มาหลายปี เมื่อมาถึงเขาได้รับเชิญให้เป็นศาสตราจารย์ ประจำมหาวิทยาลัยมิวนิค

(Munich University)


 - เขาก็ยังมีการทดลองค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องแสงด้วยนะครับ แต่คงไม่เป็นที่สนใจ

เท่าไหร่ คงไม่โดดเด่นเรื่องแสงไปมากกว่าทางปีทาโกรัส ซักเท่าไหร่


** แต่ถ้านับเรื่องไฟฟ้าเขาเป้นบุคคลสำคัญ ในด้านนี้ที่ส่งผลให้เกิดการพัฒนา

และต่อยอดให้ทันสมัยผลงานชิ้นนี้ของโอห์มเป็นงาน ที่มีคุณประโยชน์มากโอห์ม


เสียชีวิตในวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1854 ที่มิวนิคประเทศเยอรมนี ถึงแม้ว่า

เขาจะไม่ได้มีชีวิตอยู่บนดลกใบนี้แล้วแล้วแต่ชื่อของเขา ผลงานของเขา

ก็ยังถูกนำมาใช้เป็นหน่วยวัดความต้านทานไฟฟ้า


 -  ในปี ค.ศ. 1881สมาคมไฟฟ้านานาชาติ (Internation Congress of Electrical

Engineers) ได้ตกลงร่วมกันว่าจะใช้ชื่อของโอห์ม เป็น หน่วยวัดความต้านทานไฟฟ้า

โดยความต้านทาน 1 โอห์ม หมายถึง กระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ ไหลผ่าน

บนตัวนำไฟฟ้าภายใต้ความต่างศักย์ไฟฟ้า 1 โวลต์ เพื่อเป็นเกียรติให้แก่

จอร์จ ไซม่อน โอห์ม