หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2564

เจมส์ วัตต์ (James Watt)

 



เจมส์ วัตต์ (James Watt) 

เจมส์ วัตต์ เครื่องจักรไอน้ำ สู่โลกอุตสาหกรรม

เจมส์ วัตต์ (James Watt) 

เจมส์ วัตต์ วิศวกรและนักประดิษฐ์ ชาวสกอตแลนด์ ผู้ปรับปรุงเครื่องจักรไอน้ำ 

จนทำให้ สหราชอาณาจักร กลายเป็นจักรววดิที่เข้าไปสู่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม 


เจมส์ วัตต์ (James Watt)

ช่วงเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1750 ถึง ค.ศ. 1850 เมื่อการเปลี่ยนแปลงในภาคเกษตรกรรม, 

การผลิต, การทำเหมืองแร่, การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยี ส่งผลกระทบ

อย่างลึกซึ้งต่อสภาพสังคม, เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมในขณะนั้น การปฏิวัติเริ่มต้น

ในสหราชอาณาจักร  ที่ วัตต์ได้พัฒนาเครื่องจักรไอน้ำไว้ นับว่าเขาเป็นบุคคลสำคัญ

ในเรื่องการพัฒนาระบบอุตสาหกรรมไปทั่วโลกเลยทีเดียว ทำให้รายได้ของประชากร 

รวมถึงการขยายตัวของประชากรเพิ่มมากขึ้นเลยทีเดียว 


เครื่องจักรไอน้ำของเจมส์ วัตต์ นับเป็นจุดเริ่มต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรม


เจมส์ วัตต์ เกิดวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1736 กรีนนอค สกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร  

คนสกอต เหมือนกับ อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์

ครอบครัวของเขามีฐานะค่อนข้างยากจน 


บิดาชื่อ โทมัส วัตต์ (Thomas Watt) เป็นช่างไม้และทำงานเกี่ยวกับไม้ทุกชนิด


ในวัยเด็กด้วยความยากจนทำให้เขาไม่มีโอกาศได้ศึกษา แต่เขาเป็นคนชอบ

ประดิษฐ์ สนใจในการผลิตประดิษฐ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ พวกเครื่องยนต์ 

กลไกต่างๆเขาก็สนใจและศึกษามาตั้งแต่วัยเด็ก  เจมส์ วัตต์ ก็ยังมีฝีมือทางงานไม้

ซึ่งพ่อของเขาเป็นคนสอนให้อีกด้วย


 มาในปี ค.ศ. 1754 ขณะที่เขาอายุได้ 18 ปี เข้าดินทางไปเมืองกลาสโกว์ เพื่อ

หางานทำเพราะไม่ชอบชีวิตที่น่าเบื่อหน่ายกับงานที่ทำอยู่กับพ่อของเขาเขาได้

งานเป็นผู้ช่วยช่างในร้านทำเครื่องใช้แห่งหนุ่ง ตกเย็นหลังเลิกงานเขาก็ไป

เรียนต่อ แต่ด้วยทั้งทำงานและเรียนแทบจะไม่ได้พักเขาเลยมีร่างกายที่อ่อนแอลง 


เจมส์ วัตต์ จึงตัดสินใจลาออกจากงาน มุ่งหน้าไปที่ลอนดอนเพื่อเข้าเรียนหนังสือ

อย่างจริงจัง เจมส์ วัตต์ ได้เข้าไปเรียนการทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ 

เขาจำใจต้องกลับบ้านเกิดที่กรีนน็อค เพราะในช่วงปี ค.ศ. 1756 เพราะที่ยุโรป

มีสงครามทำให้ทางรัฐบาลต้องการชายหนุ่มไปเป็นทหารแต่เขาไม่ชอบเลย

กลับบ้านมาเปิดร้านซ่อมเครื่องใช้ต่างๆ แต่เขาไม่สามารถทำได้เนื่องจากต้อง

จดทะเบียนกับสมาคมพ่อค้าตามกฎหมาย เจมส์ วัตต์ เลยต้องไปหางานอื่นทำ 

และแล้วเขาก็ได้งานที่ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ 


  มาวันหนึ่ง เครื่องจักรไอน้ำของวิทยาลัยเสีย เจมส์ วัตต์ จัดการซ่อมจนสามารถ

ใช้งานได้ปกติ และยังได้ปรับปรุงให้เครื่องจักรไอน้ำนิวโคแมนสามารถใช้งาน

ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย



 ในปี ค.ศ. 1773 วัตต์จึงเริ่มประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ โดยได้รับการสนับสนุน

ด้านเงินทุนจาก จอห์น โรบัค (John Roebuck) แต่ในช่วงแรกนั้นผลงานเครื่อง

จักรไอน้ำของวัตต์ ก็ยังไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้ โรบัค 

เลิกให้การสนับสนุนเงินให้กับ เจมส์ วัตต์ แต่ถึงอย่างนั้น เจมส์ วัตต์ ก็ยังได้รับ

การสนับสนุนจาก สปอนเซอร์รายใหม่ เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม


ชื่อว่า แมทธิว โบลตัน (Mathew Bolton)  เจมส์ วัตต์ ก็หาวิธีการต่างๆเพื่อทำให้

เครื่องจักรไอน้ำของเขาสมบูรณ์แบบที่สุด ใช้เวลาอยู่นับปีก็สำเร็จ


ค.ศ.1776 เจมส์ วัตต์ แก้ปัญหาจากเครื่องจักรไอน้ำรุ่นเก่าของเขาโดยการต่อท่อ

ที่ให้ไอน้ำเข้าไปใหม่แยกออกมาต่างหาก โดยสร้างท่อที่ให้ไอน้ำออกมาและ

กลายมาเป็นหยดน้ำอีกท่อหนึ่งซึ่งทำให้เครื่องจักรไอน้ำของวัตต์มีประสิทธิภาพ

มากขึ้นและถูกใจเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว  เจมส์ วัตต์ ไม่ใช่คนที่สามารถสร้าง

เครื่องจักรไอน้ำได้เป็นคนแรก



เครื่องจักรไอน้ำ ( Steam engine) ประดิษฐ์โดย โทมัส นิวโคเมน 

(Thomas Newcomen) เมื่อ พ.ศ. 2248 (ค.ศ. 1705) ต่อมาเจมส์ วัตต์ ได้พัฒนา

เครื่องจักรไอน้ำขึ้น เจมส์ วัตต์ กับ โบลตันผู้สนับสนุนเงิน ก็ไปจดสิทธิบัตรและ

ผลิตเครื่องจักรไอน้ำออกมาจำหน่าย จนได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

เครื่องจักรไอน้ำของ เจมส์ วัตต์ เป็นการทำให้วงการอุตสาหกรรม ทั่วโลก 

โดยเฉพาะยุโรปและอเมริกา มีกำลังในการผลิตมากขึ้น 


เจมส์ วัตต์ ไม่ได้ผลิตแค่เครื่องจักรไอน้ำเท่านั้นเขายัง ประดิษฐ์เครื่องมือ

เครื่องใช้อื่นๆอีกมากมาย เช่น เครื่องจักรช่วยตีเหล็ก และ เครื่องจักรช่วยปั่นด้าย 

, ประดิษฐ์เครื่องคัดลอกจดหมาย, ปรับปรุงตะเกียงน้ำมันก๊าด, 

เครื่องจักรไอน้ำรีดผ้า (mangle) และเครื่องจักรแกะลอกงานแกะสลัก


 เขายังเป็นคนบัญญัติคำว่า แรงม้า (horse power) เอาไว้อีกด้วย โดยการใช้

ม้าแข็งแรงตัวหนึ่งให้ยกของหนัก 33,000 ปอนด์ เป็นระยะทาง 1 ฟุตใน 1 นาที 

ให้เรียกแรงงานนี้ว่า หนึ่งแรงม้า ซึ่งในปัจจุบันนี้ 1 แรงม้าก็คืองานมีค่าเท่ากับ 

33,000 ฟุต/ปอนด์ในหนึ่งนาที 



เจมส์ วัตต์ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ วันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1819 ที่ประเทศอังกฤษ 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น