อู๋ เฉิงเอิน กวีจีน ผู้แต่งไซอิ๋ว Wu Cheng'en
อู๋ เฉิงเอิน กวีจีน ผู้แต่งไซอิ๋ว Wu Cheng'en
- อู๋ เฉิงเอิน : Wu Cheng'en
- เกิด : ค.ศ.1500 หรือ 1505
- เกิดที่ : หฺวายอาน ทางตอนกลางของมณฑลเจียงซู ในภาคตะวันออกของประเทศจีน
- ยุค : ราชวงศ์หมิง
- ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า รู่จง (汝忠)
- เป็นนักประพันธ์ กวี และนักการเมืองชาวจีนในสมัยราชวงศ์หมิง บุคคลสำคัญของจีน
- เขาเป็นผู้แต่งเรื่อง Journey to the West ไซอิ๋ว เป็นนิยายคลาสสิกของจีน
- ไซอิ๋วถือเป็น สี่สุดยอดวรรณกรรมจีน ร่วมกับ สามก๊ก (หลอกว้านจง) ซ้องกั๋ง / 108 ผู้กล้าแห่ง
เขาเหลียงซาน (ชือ ไน่อัน) และ ความฝันในหอแดง เฉาเสวี่ยฉิน
- พ่อของขาเป็นคนมีการศึกษาที่ดีแต่ด้วยมีปัญหาด้านการเงินจึงต้องผันตัวมาเป็นช่างฝีมือ
- อู๋ เฉิงเอิน เป็นคนมีสติปัญญาดีและก็ยังมีใจใฝ่หาสนใจในงานด้านวรรณกรรม และความรู้ด้านต่างๆ
หลายแขนง เขาชอบอ่านประวัติศาสตร์ นวนิยายแปลก ๆ เรื่องลี้ลับ
- อู๋ เฉิงเอิน สอบเข้ารับราชการตามระบบการศึกษาและสอบคัดเลือกหลายครั้ง แต่ไม่ผ่าน แต่ก้ยังเคย
ได้เข้ารับราชการเป็นกรณีพิเศษอยู่พักนึง
- อู๋ เฉิงเอิน เขารู้สึกไม่สนุกกับงาน และก็ได้ลาออกมาเขียนนิยาย กวี วรรณกรรมที่ตัวเองชอบ
- เขากลายเป็นนักเขียนที่ประสบความสำเร็จ มีผลงานทั้งกวีนิพนธ์และร้อยแก้ว และเป็นเพื่อนกับนักเขียน
ร่วมสมัยที่มีชื่อเสียงหลายคน
- งานที่ประสบความสำเร็จและโด่งดังที่สุดของเขาคือ ไซอิ๋ว
- นอกจากไซอิ๋ว แล้ว อู๋ เฉิงเอิน ยังเขียนบทกวีและเรื่องราวมากมาย รวมถึงนวนิยายเรื่อง Yuding Animal
- งานส่วนใหญ่ของเขาจึงสูญหายไป ตามบันทึกมีการรวบรวมเรื่องผี ที่หายไป
- เขาถูกวิจารณ์จากคนรุ่นหลังว่า มีความอ่อนไหวและมีสติปัญญาที่หลากหลาย และเขามีหนังสือ
หลากหลายประเภท เขาเขียนบทกวีและเรียงความได้อย่างสง่างามและคล่องแคล่ว
- เขาเก่งในด้าน ล้อเล่น และเขาเขียนบันทึกเบ็ดเตล็ดหลายประเภท ถ้าในยุคเดียวกันที่เป็นฝั่งตะวันตก
ก็จะมีบุคคลสำคัญ ด้านวรรณกรรม คือ วิลเลียม เชคสเปียร์ William Shakespeare ที่มีไทม์ไลน์
คาบเกี่ยวกับกับ อู๋ เฉิงเอิน
- เสียชีวิต : ค.ศ. 1582 อำเภอซานหยาง จังหวัดหฺวายอัน (ปัจจุบัน อำเภอหฺวายอัน เมืองหฺวายอัน มณฑลเจียงซู)
- ในปี2016 รัฐบาลเทศบาลหฺวายอาน ได้ร่วมกันจัดตั้ง "รางวัล Wu Chengen Novel Award" และมุ่งมั่น
ที่จะทำให้รางวัลนี้เป็นรางวัลวรรณกรรมที่ทรงอิทธิพลระดับนานาชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น