หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2566

ฮิปโปเครตีส Hippocrates บิดาแห่งวิชาการแพทย์

 


ฮิปโปเครตีส Hippocrates บิดาแห่งวิชาการแพทย์ 

ฮิปโปเครตีส  บิดาแห่งวิชาการแพทย์ 



ฮิปโปเครตีส  Hippocrates ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวงการแพทย์ปัจจุบัน เป็นผู้บุกเบิกวงการแพทย์

ที่แท้จริงและถูกยกย่องให้เป็น บิดาแห่งวิชาการแพทย์ (Father of the Medicine)

ฮิปโปคราตีสได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูงในวงการแพทย์รุ่นโบราณ ว่าเป็นผู้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยว

กับวิชาการแพทย์ไว้มากมายเป็นประโยชน์ต่อวงการแพ้ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก 


ฮิปโปเครตีส Hippocrates บิดาแห่งวิชาการแพทย์


 - ฮิปโปเครตีส เกิดในช่วง 460 ก่อนคริสต์ศักราช ที่เกาะโคส (Cose) ประเทศกรีซ (Greece)



 - ฮิปโปเครตีส เป็นผู้ก่อตั้งวิชาการแพทย์และเป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคนั้น 



 - ฮิปโปเครตีส เป็นผู้เปลี่ยนความทัศนคติ ความเชื่อของคนโบราณว่า ความเจ็บป่วยนั้นเกิดจาก

ทวยเทพดลบัลดาลให้เกิดขึ้นมา จะเป็นเพื่อการลงโทษหรือชดใช้ก็แล้วแต่ซึ่งเขาได้อธิบายว่าอาการ

เจ็บป่วยต่างๆนั้นมาจากความผิดปกติและบกพร่องของร่างกาย มิใช่จากเทพเจ้า จากการกิน การอยู่ 

เชื้อโรคต่างๆ ที่คนๆนั้นได้รับมาเขาจึงหาวิธีรักษาโรคต่างๆจากผู้ป่วยของเขานั่นเอง จึงนับว่า 

ฮิปโปเครตีส เป็นบิดาแห่งวงการแพทย์ปัจจุบัน 



 - การทำงานของ ฮิปโปเครตีส นั้นเป็นไปอย่างละเอียดรอบคอบ ทั้งความสะอาดของการรักษา 

อาหารสำหรับผู้ป่วย มีการจดบันทึกประวัติส่วนตัว สาเหตุของโรค และวิธีการรักษาอย่างละเอียด



 - ฮิปโปเครตีส ได้เปิดโรงเรียนสอนวิชาการแพทย์ที่เกาะโคส และเขียนตำราแพทย์ไว้มากมายที่

เกี่ยวกับการรักษาโรคด้วยวิธีการต่าง ๆ วิธีการใช้ยา วิธีการรักษาบาดแผล กระดูกหัก และวิธีการผ่าตัด 

หรือแม้แต่แผลอบุติเหตุที่หนักๆเขาก็สามารถรักษาได้



 - จึงถือว่า ฮิปโปเครตีส เป็นบุคคลสำคัญของโลก ในทางการแพทย์แบบปัจจุบัน เขาถูกยกให้เป็น

ผู้ให้กำเนิดวิชาการแพทย์แผนปัจจุบัน "บิดาแห่งการแพทย์ตะวันตก"



 - นับว่าเขาเป็นผู้บุกเบิกวิชาแพทย์ที่มีแบบแผน มีขั้นตอนและมีเหตุมีผล น่าเชื่อถือ ทำให้เกิด

ทัศนคติใหม่ๆในการรักษาโรค จนพัฒนามาถึงอย่างในปัจจุบัน



 - คำสัตย์สาบานฮิปพอคราทีส (Hippocrates oath) โดยหลักแล้วกล่าวคือ



1. เน้นประโยชน์ของผู้ป่วยสูงสุด (beneficence)



2. สิ่งที่จะทำต้องเน้นระวังไม่ให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายใดๆ เพิ่มมากขึ้น (Non-maleficence)



3. ผู้ป่วยมีสิทธิ์อันชอบธรรมที่จะรู้สาเหตุและอาการป่วยของตัวผู้ป่วยเองและเลือกวิธีรักษาตามความ

เหมาะสม (Autonomy)



4. การรักษาต้องอาศัยความบริสุทธิ์ยุติธรรมไปตามสมมุติฐานโรคของผู้ป่วยแต่ละคนอย่างแท้จริง (Justice)



5. ทั้งผู้รักษาหรือผู้ดูแลพยาบาลและคนไข้ต่างมีเกียรติและสมควรได้รับการปฏิบัติต่อกันอย่างมีเกียรติ (dignity)



6. แพทย์และพยาบาลต้องไม่ปิดอาการป่วยต่อผู้ป่วย และควรให้ผู้ป่วยรับรู้ความหนักเบาของ

อาการป่วยตามความจริง แต่ทั้งนี้ต้องดูความเหมาะสมอย่างอื่นประกอบ เช่น สภาพจิตผู้ป่วยด้วย

 (Truthfulness and Honesty)



 - ฮิปโปเครตีส เสียชีวิต 347 ก่อนคริสต์ศักราช ที่ลาริซซา (Larissa) ปัจจุบันคือ ประเทศกรีซ (Greece)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น