เนโร จักรพรรดิโรมัน คนบาปของประวัติศาสตร์ NERO
Nero Claudius Caesar Augustus Germanicus - เนโร เคลาดิอัส ซีซาร์ ออกุสตุส เจอมานิคัส
เกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 37 เป็นจักรพรรดิโรมันที่เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 54
การครองราชย์ของพระองค์ถือเป็นจุดสิ้นสุดของราชวงศ์จูลิโอ-คลอเดียน
รัชสมัยของพระองค์ พระองค์ทรงมุ่งความสนใจไปที่การทูตและการค้า โดยพยายามยกระดับ
บทบาทของโรมในฐานะเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของจักรวรรดิด้วยการสร้างและส่งเสริม
โรงละครและการแข่งขันกีฬาต่างๆ โดดเด่นด้วยความสำเร็จทางการฑูตและการทหารในการ
ต่อต้านจักรวรรดิปาร์เธียน
การปราบปรามการจลาจลในบริแทนเนีย (ราวปี ค.ศ. 61) และการปรับปรุงความสัมพันธ์กับจังหวัดกรีก
เนโรรักศิลปะและเป็นกวี นักเขียนบทละคร นักร้อง และนักเล่นฮาร์ป วรรณกรรม ศิลปะ สถาปัตยกรรม
และสิ่งประดิษฐ์ทางวิศวกรรมต่างๆ จักรวรรดิในสมัยของเนโรก็มีความเจริญรุ่งเรืองทางวรรณกรรมและศิลปะ
ในช่วงเผชิญกับความยากลำบากทางเศรษฐกิจ จากการสงคราม เนโรจึงได้บริจาคเงินเข้าคลัง
ช่วยเหลือชนชั้นล่างอีกด้วย มีโครงการสำคัญหลายอย่างป้องกันโรคมาลาเรีย พยายามขุดคลอง
เดินเรือผ่านคอคอดเมืองโครินธ์
เนโรชื่นชอบการขับรถม้าศึก เล่นพิณและกวีนิพนธ์ แต่งเพลง
เขามีชื่อเสียงด้านไม่ดีใน หลายอย่างเช่นกัน
- การปกครองแบบเผด็จการ
- ความหรูหราฟุ่มเฟือย ทำให้คลังสมบัติหมดเกลี้ยง
- เป็นที่จดจำจากการลอบสังหารหลายครั้ง หรือประหารชีวิต
- ลอบสังหารบริแทนนิคัสน้องชายต่างมารดาของเขา เนโรถือว่าเขาเป็นภัยคุกคามต่ออำนาจเลยกำจัดทิ้ง
ตามคำบอกเล่าของเนโร บริแทนนิคัสเสียชีวิตด้วยโรคลมบ้าหมู แต่นักประวัติศาสตร์สมัยโบราณทุกคน
กล่าวหาว่าเนโรวางยาพิษ
- การสังหารแม่ของเขาเอง
- ชมชอบสนุกสนานกับการไล่โจมตีเมืองต่างๆที่ต่อต้าน โดยการใช้ความรุนแรง
- โจมตีและกวาดล้างผู้เห็นต่าง ขุนนางชนชั้นปกครองต่างหวาดกลัวเขา
- มีทฤษฎีสมคบคิดที่ว่าเขาอยู่เบื้องหลัง ไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่กรุงโรมเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 64
วางแผนไฟไหม้ตั้งแต่ต้นรัชสมัยของเนโร เพื่อสร้างเมืองโรมขึ้นใหม่ ตามรสนิยมส่วนตัวของเขาเอง
สร้างวังใหม่ของตัวเองเพราะเขาไม่ชอบความแออัดของกรุงโรมเก่าและแค่อยากจะเขียนบทกวี
เกี่ยวกับการเผากรุงโรมหลังจากผ่านช่วงเวลาแห่งความสง่างามไปแล้วเขาก็สั่งให้คนจุดไฟเผามัน
** ซึ่งเรื่องราวนี้นั้นยังเป็นสิ่งที่ต้องพิสูจน์ความถูกต้องต่อไป ไม่สามารถปักใจเชื่อทั้งหมดได้
- จับกุมชาวคริสต์และทรมานพวกเขาอย่างโหดร้ายในที่สาธารณะ โดยตรึงกางเขน สวมหนังสัตว์
เพื่อให้สุนัขดุร้ายกิน และตอกตรึงไว้กับเสาเพื่อใช้เป็นเทียน จากการถูกกล่าวหาเรื่องไฟไหม้กรุงโรม
- เตะเมียคนที่2 ที่ท้อง จนเมียตาย
- บังคับให้ Marcus Julius Vestinus Atticus (เวสตินัส) สามีของ Statia Messalina ฆ่าตัวตายเพียงเพราะ
อยากได้เมียเขามาเป็นเมียตัวเอง
- ยึดอำนาจวุฒิสภา มาเป็นของตัวเอง
- เนโรเป็นเผด็จการคนแรกที่กดขี่ศาสนาคริสต์
จลาจลในแคว้นยูเดีย เกิดจากความตึงเครียดทางศาสนาที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างชาวกรีกและชาวยิว
ชาวโรมันได้ทำลายเมืองเยรูซาเลม ทำลายวิหารของเมืองได้สังหารหมู่ประชากรและขายผู้รอดชีวิต
ในตลาดค้าทาสไปทั่วโลก มันเป็นจุดเริ่มต้นของการพลัดถิ่นหรือการกระจายตัวของชาวยิวในฐานะ
คนพเนจรไร้บ้าน
เนโรเคยถูกสมาชิกวุฒิสภาชาวโรมันตั้งแผนการสมรู้ร่วมคิดเพื่อโค่นล้มเขา สุดท้ายแผนล้มเหลว
ถูกประหารชีวิต และฆ่าตัวตาย ไปหลายคน
ในเดือนมีนาคม Gaius Julius Vindex ไกอุส จูเลียส บินเดซ ผู้ว่าการ Gallia Lugdunensis
**(เป็นจังหวัดหนึ่งของจักรวรรดิโรมันซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศสมัยใหม่ของฝรั่งเศส)
ได้กบฏต่อนโยบายภาษีของ Nero ลูเซียส เวอร์จิเนียส รูฟัส ผู้ว่าการแคว้นเจอร์มาเนียสุพีเรีย
ได้รับคำสั่งให้ปราบการกบฏของบินเดซ บินเดซได้เรียกร้องให้เซอร์วิอุส ซัลปิเชียส กัลบา
ผู้ว่าราชการฮิสปาเนีย ทาร์ราโคเนนซิส เข้าร่วมการกบฏและประกาศตนเป็นจักรพรรดิในการต่อต้านเนโร
กองกำลังของ รูฟัส สามารถเอาชนะ บินเดซ ได้อย่างง่ายดาย และฝ่ายหลังได้ฆ่าตัวตาย
อย่างไรก็ตาม หลังจากเอาชนะกลุ่มกบฏได้ ผูสนับสนุนของเขาก็พยายามปั้นให้เขาเป็นจักรพรรดิ
แต่เขาไม่ยอมรับ ปฏิเสธที่จะกระทำการต่อเนโร เหล่าขุนศึกทั้งนอกเขตโรม และขุนนางในโรมเอง
ก็ต้องการโค่นเขาลง
วุฒิสภาได้ประกาศให้เขาเป็นศัตรูสาธารณะ เนโรเตรียมตัวสำหรับการฆ่าตัวตาย แต่เขาก็ใจไม่กล้าพอ
อยู่หลายครั้งเขายังไม่สามารถปลิดชีพตนเองได้ แต่กลับบังคับเอปาโฟรดิทัส เลขาส่วนตัวของเขา
ให้ทำภารกิจนี้แทน
เมื่อทหารม้าคนหนึ่งเข้ามาและเห็นว่าเนโรกำลังจะตาย เขาจึงพยายามห้ามเลือด
แต่ความพยายามที่จะช่วยชีวิตของเนโรไม่ประสบผลสำเร็จ ขาสิ้นพระชนม์ในวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 68
ซึ่งเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตของภรรยาคนแรกของเขา คลอเดีย ออคตาเวีย ไม่ชัดเจนว่าเนโรปลิด
ชีวิตตนเองหรือไม่
การสวรรคตของเขา ราชวงศ์จูลิโอ-คลอเดียนจึงสิ้นสุดลง
ชาวโรมเฉลิมฉลองการเสียชีวิตของเนโร การเสียชีวิตของเนโร ได้รับการตอบรับอย่างดีในหมู่วุฒิสมาชิก
ขุนนางชั้นสูง และชนชั้นสูง
แต่ในทางกลับกัน พวกชั้นล่าง พวกทาส ที่ได้รับความช่วยเหลืออย่างดีจากนโยบาย ซื้อใจคนของ
เนโร ทำให้มีความเสียใจอยู่บ้าง
ภาพและรูปปั้นสิ่งแทนตัวเนโร ถูกลบออกไป หรือถูกสร้างให้เป็นตัวแทนหรือสิ่งอื่น แต่กระนั้น
ศิลปินหลายคนยังคงวาดภาพเหมือนของ เนโร ต่อไปอีกนานหลังจากการสิ้นพระชนม์ของเขา
หลังการตายของเนโร ทำให้เกิดสงครามกลางเมือง จากผู้ที่แย่งชิงอำนาจและรวมไปถึง การเสียชีวิต
ของเขาจุดชนวนให้เกิดสงครามกลางเมืองช่วงสั้น ๆซึ่งเรียกว่า Year of the Four Emperor
การที่มีคนแพร่ความเชื่อว่าเขาไม่ได้ตายจริงจากการฆ่าตัวตาย ทำให้ยังสามารถกลับมาได้อีกครั้ง
อย่างไรก็ดีประวัติศาสตร์ช่วงของเนโร นั้นยังมีคำถามจากนักประวัติศาสตร์ยุคหลังๆว่า เชื่อได้จริงแค่ไหน
ช่วงที่หายไป การแต่งเพิ่มหรือการที่มีปัญหากับชนชั้นสูงรวมถึงขุนนางยุคนั้นทำให้เรื่องราวของเขา
ดูแย่กว่าความเป็นจริงหรือไม่ รวมถึงการมีเรื่องกับการต่อต้าน คริสตจักร มีผลกับเนื้อหาเรื่องเล่า
เกี่ยวกับเขามากน้อยเพียงใด เรื่องราวของเนโร ยุคหลังก็ยังไม่สามารถปักใจเชื่อได้ทั้งหมดจริงๆซักที
แหล่งข้อมูลร่วมสมัยส่วนใหญ่อธิบายว่าเขาเป็นคนเผด็จการ ตามใจตัวเอง และเสแสร้ง จากภาพลักษณ์
ที่ออกมาในแง่ลบอย่างมากนั้น นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่บางคนตั้งคำถามถึงความน่าเชื่อถือของ
แหล่งข้อมูลโบราณเกี่ยวกับการกระทำอันกดขี่ข่มเหงของเนโร มีมากเพียงใด
เมื่อพิจารณาจากความนิยมของเขาในหมู่สามัญชนชาวโรมัน ยังรวมถึงตำนานเนโร ยังไม่ตาย
เนโรเกิดใหม่ ซึ่งมาอยู่หลังเขาตายไปแล้วทำให้เชื่อได้ว่า คนที่เป็นชนชั้นล่างก็ยังนิยมตัวเขา
อยู่หลายส่วนเช่นกัน