หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566

จักรพรรดิหย่งเล่อ Yongle

 


จักรพรรดิหย่งเล่อ Yongle 

จักรพรรดิหย่งเล่อ Yongle 


ประสูติ 2 พฤษภาคม 1360 ถึง 12 สิงหาคม 1424 


เป็นจักรพรรดิองค์ที่สามของราชวงศ์หมิงของจีน เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 4 ของจักรพรรดิหงอู่ 

จักรพรรดิผู้ก่อตั้งราชวงศ์หมิง จักรพรรดิหย่งเล่อถือเป็นผู้ปกครองที่สำคัญที่สุดของราชวงศ์หมิง

และเป็นหนึ่งในจักรพรรดิที่โดดเด่นที่สุดในประวัติศาสตร์จีน เหมือนกับ จิ๋นซีฮ่องเต้

สานต่อนโยบายการรวมศูนย์อำนาจของบิดา เสริมความแข็งแกร่งให้กับของจักรวรรดิ 

บุคคลสำคัญของจีน


จักรพรรดิหย่งเล่อ Yongle



 - ก่อตั้งเมืองหลวงแห่งใหม่ ปักกิ่ง


 - ดำเนินนโยบายต่างประเทศที่กว้างขวางและดำเนินการสงคราม ขนาดใหญ่หลายครั้งเพื่อต่อต้านชาวมองโกล


 - ทำสงครามในการขยายอิทธิพลของหมิง เพื่อที่จะเสริมสร้างอิทธิพลของเขาในเอเชียตะวันออกและใต้


 - สร้างกองเรือขนาดใหญ่และมอบหมายให้พลเรือเอกเจิ้ง เหอ ดำเนินการทางการฑูต สำรวจเส้นทางและค้าขาย


 - เดิมคือชือว่า องชายจูตี้ ตอนประสูตินั้นนางสนมกงแม่แท้ๆ ตาย ทำให้จักรพรรดินีหม่ารับเลี้ยงดูแทน


 - อายุ 10 ขวบได้รับบรรดาศักดิ์ให้เป็นเจ้าชายแห่งหยาน ซึ่งมีที่มั่นในการควบคุมอยู่ทางภาคเหนือของจีน

    ตรงปักกิ่ง ถือว่าเป็นเจ้าชายแห่งภาคเหนือ


 - อายุได้16 เข้าอภิเษกกับ ท่านหญิงสวี ลูกสาวของนายพล สวีต๋า แม่ทัพที่มีบทบาทสำคัญในการ

    ก่อตั้งราชวงศ์หมิง


 - เป็นที่โปรดปรานของฮ่องเต้ จักรพรรดิหงอู่ เป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นคนเฉลียวฉลาด เรียนรู้ไว 

    ร่างกายแข็งแรงมีความกระตือรือร้น


 - สู้ศึกต่อต้านมองโกลประสบความสำเร็จอยู่หลายครั้ง เนื่องจากมีแม่ทัพชั้นยอดอย่างพ่อตาตัวเอง

    คอยสอนเรื่องการสงครามทำให้ความเชี่ยวชาญด้านการสงครามเป็นอย่างมาก 


 - ได้ทำการพัฒนาเมืองให้เป็นฐานทัพหลักของภาคเหนือ ประสบความสำเร็จในการต่อต้านพวกมองโกล

    ตามแนวชายแดนหลายครั้ง


 - ปี 1392 มกุฎราชกุมาร จู เปียว พี่ชายตาย เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ของ จักรพรรดิ และรัชทายาท

    องค์แรกแห่งราชวงศ์หมิง  และพี่ชายคนอื่นๆ ในเวลาต่อมาก็สิ้นชีวิตดังนั้นเจ้าชายจึงมีความหวังสูง

    ที่จะสืบทอดตำแหน่งจักรพรรดิ หงอู่ (จูหยวนจาง)แต่เรื่องราวตรงกันข้ามกับความคาดหวังของเขา 

    พ่อของเขาเลือกจู หยุนเหวิน หลานชายของเขา ขึ้นแทน


 - ในปี 1398 จักรพรรดิ หงอู่ สิ้นพระชนม์และหลานชายของเขาขึ้นครองบัลลังก์มังกรในฐานะ จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน 


 - จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน ทรงห้ามไม่ให้อาเข้าร่วมพิธีศพของบิดาในเมืองนานกิง เนื่องจากอำนาจทาง

    ทหารมากเกินไป ( กลัวโดนอาทุบ )


 - จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน และที่ปรึกษาของเขาพยายามปฏิรูประบบจักรพรรดิและลดอำนาจของเจ้าชายลง 

    ( มีมากเกินไป อันตราย )


 - ในปี ค.ศ. 1399 องชายค์ จูตี้ ได้ประกาศสงครามกับนานกิง จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน หลานชายของตัวเองเลย


 - ช่วงแรกนั้นฝั่งนานกิง ได้เปรียบอย่างมากเพราะมีทั้งทหารที่มากกว่า และเงินให้ใช้เสบียงมีมากกว่าฝั่ง องค์ชายจูตี้ 


 - ต่อมาคือ ใช้กองทักม้าจากมองโกล ที่เข้ามาสวามิภักดิ์ตั้งแต่ตอนปราบปรามเผ่ามองโกลมาหลายครั้ง

    ซึ่งแน่นอนว่ากองทัพม้าเหล่านี้สามารถเอาชนะกองทักของนานกิงได้โดนง่าย 


 - ออกรบเองทำให้ขวัญทหารดี ผิดกับ จักรพรรดิเจี้ยนเหวินที่อยู่แต่ในวังนานกิง


 - ฝั่งหลานจากได้เปรียบ กลายเป็นสู้อาไม่ได้ แถมมีคนแปรพักต์ เปิดประตูเมืองให้กองทัพอา 

    ฝั่งหลานเลยเผาวังที่นานกิงทิ้ง


 - อาก็ชนะสงครามกลางเมือง เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1402 ขณะมีพระชนมายุ 

    42 พรรษา เป็น จักรพรรดิหย่งเล่อ จักรพรรดิองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์หมิง 


 - ได้อำนาจแล้วก็จัดการพวกขุนนางหรือกำลังของฝั่งตรงข้ามที่เป็นคนเก่าของหลานชายหมด 

    ประหารหลาน และเหลนตัวเอง ที่เป็นพี่น้องและลูกของ จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน โดยไม่มีข้อยกเว้น


 - ประชาชนประมาณ 20,000 คนตกเป็นเหยื่อของการกวาดล้างในเมืองหลวง เป็นจุดนนองเลือดของ

    รัชสมัยเลยทีเดียว แต่ก็ถือเป็นยุคทองของการรวมอำนาจ


 - ความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นและความมั่นคงภายใน และเป็นยุคที่จัดการโดยผู้มีความสามารถ


 - ก่อสร้างหอสักการะฟ้า  ตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่ง หอนี้ได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกอีกด้วย


 - เจริญความสัมพันธ์กับทิเบตส่งสาส์น ของขวัญ และทูตไปยังทิเบต และเรื่องเกี่ยวกับศาสนาพุทธ


 - ย้ายเมืองหลวงไปทางเหนือจากนานกิง ไปอยู่ที่ปักกิ่ง เป็นจุดเริ่มต้นของพระราชวังต้องห้าม นั่นเอง


 - จักรพรรดิหย่งเล่อได้วางแผนระยะยาวและครอบคลุมเพื่อเสริมสร้างและเสถียรภาพให้กับเศรษฐกิจใหม่

    เพิ่มการผลิตสิ่งทอและการเกษตรให้ได้สูงสุด


 - ถอดเจ้าหน้าที่ที่ทุจริตออก ทำลายสมาคมลับ กลุ่มโจร


 - บูรณะคลองใหญ่ (เชื่อมต่อกับแม่น้ำไห่เหอ, แม่น้ำหวง, แม่น้ำฮวย, แม่น้ำแยงซี, แม่น้ำเฉียนถัง) 

    คลองขุดแรงงานมนุษย์ที่มีความยาวที่สุดในโลกใหม่เกือบทั้งหมด เผื่อใช้ขนส่งพืชผลทางการเกษตร

    และใช้เพาะปลูก


 - ส่งเสริมลัทธิขงจื๊อ รักษาพิธีกรรมแบบดั้งเดิม และเคารพวัฒนธรรม ซ่อมแซมวัดและอารามลัทธิเต๋าจำนวนมาก


 - ในรัชสมัยของพระองค์ วัดพุทธและเต๋าหลายแห่งถูกสร้างขึ้น 


 - ห้ามมิให้มีการใช้ชื่อ นิสัย ภาษา และเครื่องแต่งกายของชาวมองโกลพยายามกำจัดอิทธิพลหยวนจากจีน


สนับสนุนมัสยิดในหนานจิงและซีอาน การซ่อมแซมมัสยิดได้รับการสนับสนุนและห้ามการแปลงไปใช้อย่างอื่น


 - เขียนสารานุกรมหย่งเล่อ ซึ่งเป็นการรวบรวมอารยธรรมจีน สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1408 เป็นสารานุกรม

    ทั่วไปที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในขณะนั้น


 - ชนะสงครามกับพวกมองโกล บดขยี้เศษซากของราชวงศ์หยวนที่หนีไปทางเหนือ


 - พิชิตเวียดนาม ส่งกองทัพสองกองทัพ รบกับเวียด เวียดนามถูกรวมเป็นมณฑลหนึ่งของจีน


 - ขยายอิทธิพลของจีนไปทั่วโลก จักรพรรดิหย่งเล่อได้สนับสนุนการเดินทางที่นำโดยพลเรือเอกเจิ้งเหอ

    ในขณะที่เรือของจีนยังคงเดินทางไปยังญี่ปุ่น ริวกิว และสถานที่หลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

    การเดินทางของเจิ้งเหอเป็นการสำรวจทางทะเลที่สำคัญเพียงแห่งเดียวของจีน แอฟริกา และอียิปต์

    ตั้งแต่ราชวงศ์ถัง




 - จักรพรรดิหย่งเล่อสิ้นพระชนม์ด้วยพระชนมายุ 64 พรรษา เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1424 ระหว่าง

    การสงครามครั้งสุดท้ายกับพวกมองโกลใน ทะเลทรายโกบีเพื่อไล่ล่ากองทัพของโออิรัตที่หลบหนี

    มีอาการเส้นเลือดในสมองตีบเล็กน้อยหลายครั้งก่อนออกทำศึก  จากนั้นก็ทรงประชวร อาจเนื่อง

    มาจาก พระโลหิตในสมองแตกหลายครั้ง เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1424 จักรพรรดิหย่งเล่อเสด็จ

    สวรรคต เขาถูกฝังอยู่ในฉางหลิง มอบบัลลังก์ให้กับองค์รัชทายาท 


 - จักรพรรดิหย่งเล่อได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้แสวงหาเกียรติยศ อำนาจ และความมั่งคั่งมาตลอดชีวิต

    ทำงานอย่างหนักเพื่อรักษาวัฒนธรรมจีน อุปถัมภ์วัฒนธรรมมองโกลและทิเบตด้วย รักษาความสำเร็จ

    ของบิดาไว้ ปฏิรูปเศรษฐกิจ การศึกษา และการทหาร การทูจ การสำรวจ เป็นผู้ปกครองที่มีอิทธิพล

    ในประวัติศาสตร์จีน แม้จะถูกครหาในเรื่องการฆ่าผู้นฝั่งตรงข้ามไปถึงการนองเลือด หรือ การเป็น

    เผด็จการในรัชสมัย แต่ก็ยังถูกยกย่องเป็นส่วนสำคัญ บุคคลสำคัญในการพัฒนาของจีนในช่วง

    ราชวงศ์หมิง และประวัติศาสตร์สำคัญของจีน




วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2566

เจิ้ง เหอ Zhèng Hé แม่ทัพนักเดินเรือผู้ยิ่งใหญ่ของจีน

 


เจิ้ง เหอ Zhèng Hé แม่ทัพนักเดินเรือผู้ยิ่งใหญ่ของจีน

เจิ้ง เหอ Zhèng Hé แม่ทัพนักเดินเรือผู้ยิ่งใหญ่ของจีน


เจิ้ง เหอ Zhèng Hé



 - เกิดในปี ค.ศ. 1371 ในยูนนาน


 - เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1433


 - เดิมทีมีชื่อว่า "ซานเป่า"


 - เป็นนักเดินทางชาวหุย (เป็นมุสลิมกลุ่มหนึ่งในประเทศจีน) บุคคลสำคัญของจีน


 - นักเดินเรือ พลเรือเอก และนักการทูตชาวจีนในสมัยราชวงศ์หมิง บุคคลสำคัญของจีน


 - เป็นขันทีรับใช้จักรพรรดิจีน 


 - เจิ้งเหอเป็นผู้นำการสำรวจการเดินทางโดยเรือ 7 ครั้ง ตั้งแต่ปี 1405 ถึง 1433 ด้วยเรือขนาดใหญ่

    ของเขาบรรทุกลูกเรือหลายร้อยคน


 - ใช้เวลา 28 ปีในการสำรวจไปยังดินแดน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ เอเชียตะวันตก 

    และแอฟริกาตะวันออก


 - ถือเป็นนักเดินเรือผู้ยิ่งใหญ่ของประเทศจีน อาจอ้างอิงถึงไปทวีป อเมริกาได้ก่อน โคลัมบัส อีกด้วย


 - เป็นขันทีที่มีอิทธิพลอย่างมากในราชสำนัก


 -  ฮ่องเต้ก็พระราชทานนามสกุลเจิงให้หม่ารู้จักกันในชื่อเจิ้งเหอ


 - ได้รับเลือกจากจักรพรรดิให้เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของภารกิจสำรวจมหาสมุทรตะวันตก


 - กองเรือเดินทางเยือนจำปา (ปัจจุบันอยู่ทางตอนใต้ของเวียดนาม) สยาม (ประเทศไทย) 

    มะละกา (มะละกา) และเกาะชวา  จากนั้นเดินทางผ่านมหาสมุทรอินเดียไปยังเมืองกาลิกัต 

    (โคซิโคเด) บนชายฝั่งมาลาบาร์ของอินเดียและซีลอน (ศรีลังกา) แอฟริกา และอาระเบีย


**ราชสำนักหมิงสนับสนุนการเดินทางทางเรือเจ็ดครั้ง


 - 1405–1407 เที่ยวที่ 1 : จำปา,  ชวา, ปาเล็มบัง, มะละกา, อารู, ซามูเดรา, ลามูรี, ซีลอน 

    (ประเทศศรีลังกา), คอลลัม, โกจจิ, โกฬิกโกฏ(Calicut)


 - 1407–1409 เที่ยวที่2 : จำปา ชวา  สยาม โคชิน  ซีลอน โกฬิกโกฏ


 - 1409–1411 เที่ยวที่3 : จำปา ชวา มะละกา ซามูเดรา ซีลอน คอลลัม โคชิน โกฬิกโกฏ(Calicut) 

    สยาม ลามูรี กาจัล โคอิมบาโตร์ ปุตตันปุระ


 - 1413–1415 เที่ยวที่4 : จำปา กลันตัน ปะหัง ชวา ปาเล็มบัง มะละกา เซมูเดรา ลามูรี ซีลอน โคชิน 

    โกฬิกโกฏ(Calicut) คาจัล ฮอร์มุซ มัลดีฟส์  โมกาดิชู บาราวา มาลินดี เอเดน มัสกัต โดฟาร์


 - 1417–1419 เที่ยวที่ 5 : ริวกิว, จำปา, ปะหัง, ชวา, มะละกา, ซามูเดโร, ลามูรี, เบงกอล, ซีลอน, 

    ชาร์จาห์, โคชิน, โกฬิกโกฏ(Calicut), ฮอร์มุซ, มัลดีฟส์, โมกาดิชู, บาราวา, มาลินดี, เอเดน


 - 1421–1422 เที่ยวที่ 6 : จำปา เบงกอล ซีลอน โกฬิกโกฏ(Calicut) โคชิน มัลดีฟส์ ฮอร์มุซ โดฟาร์

    เอเดน โมกาดิชู บาราวา


 - 1430–1433 เที่ยวที่ 7 : จำปา ชวา ปาเล็มบัง มะละกา เซมูเดโร หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ 

    เบงกอล ซีลอน โกฬิกโกฏ (Calicut) ฮอร์มุซ เอเดน กันบาลี (อาจเป็นโคอิมบาโตเร) เบงกอล 

    หมู่เกาะแลคคาไดฟ์และมัลดีฟส์ โดฟาร์ ลาซา เอเดน เมกกะ โมกาดิชู บาราวา


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


 - เจิ้งเหอนำคณะสำรวจเจ็ดครั้งไปยัง "ตะวันตก" หรือมหาสมุทรอินเดีย เจิ้ง เหอ ได้นำทรัพย์สินและ

    ทูตจากกว่า 30 อาณาจักรกลับมายังจีน


 - เดินทางข้ามผืนน้ำอันกว้างใหญ่ ทนอยู่ในมหาสมุทรที่มีคลื่นสูงพอๆ กับภูเขาสูงเสียดฟ้า 


 - เขามอบของขวัญเป็นทองคำ เงิน เครื่องลายครามและผ้าไหม จีนได้รับของ เช่นนกกระจอกเทศ 

    ม้าลาย อูฐ และงาช้าง


 - ใช้ลูกเรือมากกว่าจำนวนมหาศาลที่เป็นเจ้าหน้าที่ทหารประจำ เขาปราบโจรสลัดที่ก่อกวน

    น่านน้ำจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างโหดเหี้ยม


 - ทำสงครามกับอาณาจักร Kote ของศรีลังกา แสดงแสนยานุภาพเมื่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น

    คุกคามกองเรือของเขาในอาระเบียและแอฟริกาตะวันออก


 - ในสมัยหย่งเล่อ มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ระงับการเดินเรือของเจิ้งเหอ เนื่องจากต้อง

    เสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก แต่ก็ไม่ได้รับผลกระทบอะไรกับการเดินทางเที่ยวที่ 6 ของเขา 

    ในปี ค.ศ. 1424 จักรพรรดิจงเล่อสิ้นพระชนม์ ผู้สืบทอดของเขาคือ จักรพรรดิหงซี จึงได้สั่ง

    ให้หยุดการเดินเรืออย่างถาวร แต่พระองค์ครองราชย์แค่ช่วงสั้นๆ 1424 - 1425


 - ในรัชสมัยของโอรสของหงซี คือเซฺวียนเต๋อ ได้มีการเดินทางเที่ยวที่ 7 ของเขา แต่หลังจากนั้น 

    องค์จักรพรรดิเซฺวียนเต๋อ การเดินทางของกองเรือสมบัติของจีนก็สิ้นสุดลง


 - ทฤษฎีหนึ่งคือเจิ้งเหอ ก็ได้เสียชีวิตจากการเดินทางครั้งสุดท้ายของเขาในทะเล ไม่ทันได้กลับ

    แผ่นดินแม่ที่จีน 


การเดินทางของเจิ้งเหอถูกละเลยมานานในประวัติศาสตร์ทางการของจีน แต่กลายเป็นที่รู้จักกันดี

ในจีนและต่างประเทศตั้งแต่การตีพิมพ์หนังสือชีวประวัติของเหลียง ฉีเฉา 

ของเจิ้ง เหอ ผู้นำทางที่ยิ่งใหญ่แห่งมาตุภูมิของเรา ในปี 1904 





วันอังคารที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2566

จิ๋นซีฮ่องเต้ Qin Shi Huang

 


จิ๋นซีฮ่องเต้  Qin Shi Huang

จิ๋นซีฮ่องเต้ - ฉินฉื่อหฺวังตี้  Qin Shi Huang


18 กุมภาพันธ์ 259 ปีก่อนคริสตกาล - 10 กันยายน 210 ปีก่อนคริสตกาล


จิ๋นซีฮ่องเต้  Qin Shi Huang


เป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีน  บุคคลสำคัญของจีน


เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ฉินและเป็นจักรพรรดิองค์แรกของการรวมจีนให้เป็นปึกแผ่น


เกิดในหานตัน เมืองหลวงของรัฐจ้าว  มีพระนามเดิมว่า อิ๋ง เจิ้ง หรือ จ้าว เจิ้ง 


 พระบิดา คือ พระเจ้าฉินจฺวังเซียง พระมารดา คือ จ้าว จี 


ลฺหวี่ ปู้เหวย์ ( ต่อมาเป็น อัครมหาเสนาบดีแห่งรัฐฉิน ) พ่อค้าผู้มั่งคั่งได้ช่วยเหลือเขาในการสืบต่อ

จากบิดาของเขาในฐานะผู้ปกครองฉิน


พระชนมายุ 38 พรรษา ได้พิชิตรัฐอื่นทั้งหมดและรวบรวมจีนทั้งหมดเป็นปึกแผ่น


พระองค์ขึ้นครองบัลลังก์ในฐานะจักรพรรดิองค์แรกของจีน


ออกกฎหมายปฏิรูปเศรษฐกิจและการเมืองครั้งใหญ่ ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญและ

การปฏิรูปการเมืองร่วมกับอัครมหาเสนาบดีของเขา หลี่ ซือ มีการห้ามและเผาหนังสือหลายเล่ม

และประหารชีวิตผู้รู้ นักปราชญ์ เป็นจำนวนมาก


ดำเนินการเชื่อมต่อกำแพงของรัฐต่างๆเข้าด้วยกันเป็นกำแพงเมืองจีน


จิ๋นซีฮ่องเต้มักถูกมองว่าเป็นผู้ปกครองที่กดขี่ข่มเหง 


บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดเป็นพื้นฐานของราชวงศ์ฉินและกองทัพทั้งหมด


จัดตั้งระบบการปกครองแบบรวมศูนย์และระบบราชการโดยเปลี่ยนการปกครอง


ส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศเป็นระบบมณฑลและจังหวัดที่ปกครองโดย แต่งตั้งและส่งข้าราชการ


หน่วยเงินตราและหน่วยวัดที่เป็นเอกภาพมาตราฐานเดียวกัน


การบำรุงรักษาและการขยายกำแพงเมืองจีน ในรัชสมัยของพระองค์มีอิทธิพลอย่างสูงต่อ

ประวัติศาสตร์ทั้งหมดของจีนในเวลาต่อมา มีอิทธิพลกว้างไกลต่อความคิดทางการเมืองของจีน 


ฉินจากฐานเล็ก ๆ ได้กลายเป็นมหาอำนาจ ปกครองแผ่นดินและได้รับความเคารพจากทั่วทุกสารทิศ

เป็นเวลาร้อยปี เป็นหนึ่งในวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์จีน บุคคลสำคัญของประวัติศาสตร์จีน

ในยุคใหม่ จิ๋นซีฮ่องเต้ถูกมองว่าเป็นผู้ปกครองที่มองการณ์ไกล ก่อตั้งรัฐ รวมศูนย์เป็นปึกแผ่น

แห่งแรกในประวัติศาสตร์จีน


จิ๋นซีฮ่องเต้ ยกเลิกระบบศักดินาจัดระเบียบจักรวรรดิออกเป็นหน่วยการปกครองย่อยๆ 


การแต่งตั้งข้าราชการ ขุนนางจะขึ้นอยู่กับความดีความชอบแทนสิทธิทางสายเลือดที่สืบต่อกันมา


จิ๋นซีฮ่องเต้และหลี่ซือรวมจีนเป็นปึกแผ่นทางเศรษฐกิจโดยสร้างมาตรฐานมาตราชั่งตวงวัดของจีน 


เพลาเกวียนกำหนดความยาวมาตรฐานเพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งทางถนน พัฒนา

เครือข่ายถนนและคลองที่กว้างขวางเพื่อการค้าและการสัญจร สกุลเงินของรัฐต่าง ๆ 

ได้รับมาตรฐานเดียวกัน


สร้างภาษาเขียนที่เป็นสากลสำหรับประเทศจีนทั้งหมด แม้จะมีภาษาพูดที่หลากหลายก็ตาม


จิ๋นซีฮ่องเต้ได้กำจัดสำนักศึกษา ซึ่งรวมถึงลัทธิขงจื๊อและปรัชญาอื่น ๆ การยึดถือกฎหมายจึง

กลายเป็นอุดมการณ์บังคับของราชวงศ์ฉิน


จิ๋นซีฮ่องเต้จึงสั่งให้เผาหนังสือที่มีอยู่ส่วนใหญ่เกี่ยวกับปรัชญา  ยกเว้นหนังสือเกี่ยวกับ

โหราศาสตร์ การเกษตร การแพทย์ การทำนาย และ ประวัติศาสตร์รัฐฉิน


ระหว่างการเสด็จประพาสภาคตะวันออกของจีน จักรพรรดิประชวรหนักในผิงหยวนจิน 

(เทศมณฑลผิงหยวน มณฑลซานตง) และเสด็จสวรรคตในเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม 210 ปี

ก่อนคริสตกาล ณ พระราชวังในจังหวัดชาชิว


สาเหตุการสิ้นพระชนม์ของจิ๋นซีฮ่องเต้ยังไม่ทราบ แม้ว่าพระองค์จะทรงทรุดโทรมจากการปกครอง

หลายปีของพระองค์ก็ตามมีสมมติฐานหนึ่งว่าเขาถูกวางยาพิษด้วยยาอายุวัฒนะที่มีสารปรอท 

หรืออาจเป็นเพราะคิดว่าเป็นยาเลยสะสมสารปรอทเข้าไป นานวันเข้าร่างกายก็ทนทานไม่ได้ 

เป็นเหตุจากการที่เขาต้องการเพื่อแสวงหาความเป็นอมตะให้ตัวเอง 


อ้างอิงจากบทความ จิ๋นซีฮ่องเต้ (ตายเพราะอยากอมตะ)