หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

โคโนสุเกะ มัตสึชิตะ นักประดิษฐ์ผู้ก่อตั้ง Panasonic

 


โคโนสุเกะ มัตสึชิตะ นักประดิษฐ์ผู้ก่อตั้ง Panasonic


Kōnosuke Matsushita  โคโนะสุเกะ มัตสึชิตะ


27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2437 - 27 เมษายน พ.ศ. 2532


โคโนสุเกะ มัตสึชิตะ นักประดิษฐ์ผู้ก่อตั้ง Panasonic



เกิดในหมู่บ้านวาซามูระ ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเมืองวากายามะ


ลูกคนสุดท้องจากพี่น้องทั้งหมดแปดคน ชีวิตวัยเด็กค่อนข้างอยู่สบายดี


แต่ด้วยปัญหาจากการขาดทุนจากผลของการลงทุนในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ที่ย่ำแย่ 


และครอบครัวจึงถูกบังคับให้ออกจากฟาร์มและย้ายไปอยู่บ้านหลังเล็กๆ


เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัวเขาจึงเข้าไปทำงานฝึกงานที่ร้านฮิบาชิ (เตาถ่าน)


ต่อมาเขาไผทำงานที่ร้านขายจักรยาน ในร้านนั้นยังมีการรับงานทำโลหะเล็กน้อยบ้าง


เขาจึงได้เรียนรู้การใช้เครื่องกลึงและเครื่องมืออื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว


เขาทำงานไปด้วยและเรียนเขาสามารถเรียนภาคค่ำและเรียนจนจบได้ 


ในช่วงเวลานั้นรถรางเริ่มปรากฎตัวบนถนนสายหลัก เขาตระหนักถึงว่าไฟฟ้าจะเป็นกระแสหลัก


ในอนาคตคือสาขางานใหม่ที่จะเป็นงานกระแสหลักในอนาคตเขาจึงสมัครงานที่บริษัท Osaka Electric Light



ตอนอายุ 20 ปี น้องสาวของโคโนสึเกะได้แนะนำให้เขารู้จักกับมูเมโนะ เพื่อนของเธอ ไม่กี่เดือนต่อมา 


ทั้งสองก็แต่งงานกัน


เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งอย่างรวดเร็วไปสู่ตำแหน่งที่มีเงินเดือนสูงขึ้น จนกระทั่งเมื่ออายุ 22 ปี 


เขาได้กลายมาเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ เขาใช้เวลาในยามว่างสร้างเต้ารับไฟฟ้าขึ้นมาแล้วเสนอให้หัวหน้า


ซื้อผลงานของเขาแต่ไม่เป็นผล ณ เวลานั้นเขารู้สึกหมดความท้าทายในการทำงาน จึงได้ลาออกากงาน


แล้วเปิดบริษัทผลิตสินค้าขนาดเล็กของตัวเองขึ้นในวันที่ 15 มิถุนายน 1917


เขามีเงินออมอยู่แค่ 100 เยนซึ่งถือว่าน้อยนิดมากในการมาซื้ออุปกรณ์การผลิตเครื่องมือพื้นฐานอื่นๆ


แต่เขาก็ยังเปิดร้านในตึกแถวเล็กๆ พร้อมกับเพื่อนร่วมงานสองคนจากบริษัท Osaka Electric Light Company 


และ Toshio น้องชายคนเล็กของ ภรรยาเขา ยอดขายของปลั๊กไฟนั้นไม่ดีนัก และในช่วงปลายปี 1917 


อดีตเพื่อนร่วมงานของเขาที่มาจากบริษัทเดียวกันก็ขอถอนตัว เหลือเพียง พรรยาและน้องภรรยาของเขาเท่านั้น


ในขณะที่เกือบจะล้มละลาย บริษัทก็รอดมาได้ด้วยคำสั่งซื้อแผ่นฉนวนสำหรับพัดลมไฟฟ้าจำนวนหนึ่งพันแผ่นโดยไม่คาดคิด


เมื่อธุรกิจเริ่มคึกคักขึ้นและโคโนสุเกะมีเงินลงทุน เขาจึงเช่าบ้านสองชั้นและเปิดบริษัท 


Matsushita Electric Housewares Manufacturing Works ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นบริษัท Panasonic


ปลั๊กต่อแบบนวัตกรรมใหม่และปลั๊กสองทางซึ่งเขาออกแบบเอง


ผลิตภัณฑ์ใหม่เหล่านี้ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ทำให้บริษัทได้รับชื่อเสียงในด้านคุณภาพสูงในราคาต่ำ และในปี 1922 


โคโนสุเกะต้องสร้างโรงงานและสำนักงานใหม่เพื่อรองรับธุรกิจที่กำลังเติบโตของเขา


ในปี 1923 มองเห็นความน่าสนใจของตลาดโคมไฟจักรยานแบบใช้แบตเตอรี่ เขามุ่งมั่นแก้ไขข้อบกพร่องเดิมๆ


ของโมไฟแบบใช้แบตของจักรยานให้ดียิ่งขึ้นเพื่อนำมาเป็นสินค้าใหม่ ใช้เวลาหกเดือนในการออกแบบโคมไฟจักรยาน


ทรงกระสุนที่สามารถใช้งานได้นานถึง 40 ชั่วโมงโดยไม่ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ จากเดิมที่ทำงานได้แค่ 3 ชั่วโมง 


เขาส่งของให้ร้านจักรยานด้วยตัวเอง เพราะผู้ค้าส่งไม่เชื่อในคามสามารถของโคมไฟที่เขากล่าวอ้าง 


พวกเขาทดสอบประสิทธิภาพของโคมไฟของเขาด้วยตนเอง จากความสำเร็จนี้คำสั่งซื้อต่างๆ 


ก็หลั่งไหลเข้ามายังบริษัทของเขา เขายังได้พัฒนาโคมไฟชุดที่ 2 ที่มีทรงเหลี่ยมอีก และพยายามจะสร้างแบรนด์


เขาได้พบคำว่า "international" ใน นสพ อังกฤษ ซึ่งมีคำว่า "national" ประชาชาติ ประชาชน ซึ่งเป็นความหมายดี


ซึ่งเขาคาดหวังว่าสินค้าของเขาจะต้องมีอยู่ในทุกครัวเรือนในสักวันหนึ่ง และในปี 1927 แบรนด์ National จึงถือกำเนิดขึ้น


ยุคนั้นสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆมีราคาแพงมาก เขาเลยมีความคิดที่จะทำสินค้าที่มีราคาถูกพอที่คนทั่วไปจะเอื้อมถึงได้ 


และก่อตั้งแผนกแยกต่างหากเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าความร้อน และพัฒนาเตารีด ได้มีการพัฒนา "ซูเปอร์เตารีด" ("Super-Iron")


"Super-Iron" ซูเปอร์เตารีดแห่งชาติเปิดตัวในราคา 3.2 เยน ซึ่งต่ำกว่าราคา 5 เยนของเตารีดของคู่แข่งมาก


โคโนสุเกะสามารถผลิตวิทยุแบบสามหลอดได้ภายในสามเดือน และได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดที่จัดโดยสถานีวิทยุสาธารณะโตเกียวทันที


โคโนสึเกะคิดค้นและก่อตั้งระบบการจัดการแบบอิสระ โดยแบ่งบริษัทของเขาออกเป็นสามแผนก 


แผนกแรกผลิตวิทยุ 


แผนกที่สองผลิตไฟส่องสว่างและแบตเตอรี่แห้ง 


แผนกที่สามผลิตอุปกรณ์เดินสาย เรซินสังเคราะห์ และผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าความร้อน


ทำให้สามารถมอบหมายความรับผิดชอบได้มากขึ้น รวมถึงให้ได้เรียนรู้เรื่องธุรกิจและการขายแก่ผู้จัดการได้มากขึ้น


ในช่วงอายุ 38 บริษัทผลิตสินค้าได้มากกว่า 200 รายการ ขยายกิจการ ปี1933 บริษัทจึงย้ายไปยังโรงงานแห่งใหม่


และสำนักงานใหญ่ในเมืองคาโดมะ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของโอซากะ 


ในปี 1934 ได้เปิดสถาบันฝึกอบรมพนักงานที่โรงงานคาโดมะเพื่อเสนอหลักสูตร 3 ปีให้กับบัณฑิต


ชั้นประถมศึกษาที่ผสมผสานการศึกษาทางด้านวิศวกรรมและธุรกิจ 


ในปี 1935 ควรให้ความสนใจกับธุรกิจในต่างประเทศมากพอๆ กับธุรกิจในประเทศ


ในวันที่ 15 ธันวาคมของปีเดียวกัน โคโนะสุเกะได้จัดตั้งบริษัทขึ้นและเปลี่ยนชื่อเป็น “Matsushita Electric Industrial Company limited”


สงครามในแปซิฟิก ความพยายามในการผลิตสินค้าคุณภาพสูงยังคงดำเนินต่อ ผลจากสงครามทำให้ พานาโซนิค


เสียโรงงานไป 32 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในโตเกียวและโอซากะ


สำนักงานใหญ่และโรงงานหลักรอดมาได้ แต่บริษัทแทบจะต้องสร้างตัวเองขึ้นมาใหม่ตั้งแต่ต้น


การก่อตั้งสหภาพแรงงาน ในปี 1946 


เนื่องจากบริษัทผลิตอุปกรณ์ทางการทหารในช่วงสงคราม โคโนะสุเกะจึงได้รับคำสั่งให้ลาออกจากตำแหน่งประธานบริษัท


เรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน สหภาพแรงงาน ร้านค้าปลีก และบริษัทในเครือ ได้บอกว่าเขามีความจำเป็นต่อการต้องฟื้นฟูบริษัท


ยื่นคำร้องเพื่อยกเลิกคำสั่งลาออก ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งฝ่ายพันธมิตรได้อนุญาตให้เขาและกรรมการของบริษัท


ยังคงอยู่ในบริษัท ซึ่งถือเป็นการพลิกกลับนโยบายที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยนัก


ในปี 1946 ได้ก่อตั้งองค์กรขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพของมนุษย์ ตั้งชื่อองค์กรนี้ว่า PHP Institute 


และเริ่มจัดพิมพ์นิตยสาร PHP ในปีถัดมา


ในปี 1952 มองหาพันธมิตรทางธุรกิจในต่างประเทศ หลังจากการเจรจาที่เข้มข้นมาก พานาโซนิคจึงได้จัดทำข้อตกลง


ความร่วมมือทางเทคนิคกับฟิลิปส์แห่งเนเธอร์แลนด์ โดยก่อตั้ง Matsushita Electronics Corporation ขึ้นในรูปแบบการร่วมทุน


ปี 1958 ได้รับการประดับยศเครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซาจากราชินีแห่งเนเธอร์แลนด์ และพิธีดังกล่าวจัดขึ้นที่


สถานทูตเนเธอร์แลนด์ในโตเกียว รางวัลนี้มอบให้ "สำหรับการมีส่วนสนับสนุนที่โดดเด่นและการให้บริการเพื่อความร่วมมือ


ทางเศรษฐกิจและการส่งเสริมมิตรภาพ" ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดในเนเธอร์แลนด์ที่มอบให้กับพลเมืองต่างชาติ


โคโนสุเกะเป็นคนแรกที่ได้รับการประดับยศนี้จากราชินีแห่งเนเธอร์แลนด์หลังสงครามโลกครั้งที่สอง 


เขายังมีส่วนสนับสนุนในการส่งเสริมมิตรภาพระหว่างสองประเทศด้วยการก่อตั้งและดำรงตำแหน่ง


ประธานสมาคมญี่ปุ่น-เนเธอร์แลนด์แห่งคันไซในปี 1959


โคโนะสุเกะได้รับการประดับยศอีกครั้ง ในการส่งเสริมมิตรภาพกับประเทศอื่นๆ


รางวัล Medalie De Honra Ao Merito Cultural Award จากบราซิล


รางวัล Commandeur de L'Ordre de la Couronne Award จากพระมหากษัตริย์เบลเยียม


รางวัล Panglima Mangku Negara และตำแหน่ง Tan Sri จากพระมหากษัตริย์มาเลเซีย


ในปี 1959 ขยายกิจกรรมทางธุรกิจไปยังต่างประเทศ โดยเขาก่อตั้ง MECA ในนิวยอร์ก


ยังได้สร้างโรงงานในต่างประเทศอีกด้วย รวมถึง National Thai ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตใน


ต่างประเทศแห่งแรกในปี 1961 และ Matsushita Electric (ไต้หวัน) ในปี 1962


ในปี 1961 เมื่ออายุ 65 ปี ประกาศลาออกแต่ยังคงสนับสนุนบริษัทในเบื้องหลังต่อไป


ขึ้นปกนิตยสาร TIME ในปี 1962 ตอนอายุ 67 ปี


ปี 1964 โคโนะสุเกะยังได้ลงนิตยสาร LIFE และได้รับการขนานนามว่าเป็น 


"นักอุตสาหกรรมชั้นนำ" "ผู้ทำเงินสูงสุด" "นักปรัชญา" "ผู้จัดพิมพ์นิตยสาร" และ "นักเขียนหนังสือขายดี"


ทำให้บริษัท Matsushita Electric เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก 


ในปี 1987 เขาได้รับรางวัล Grand Cordon of the Order of the Paulownia Flowers


เขียนหนังสือที่ตีพิมพ์แล้ว 44 เล่ม หนึ่งในหนังสือของเขาชื่อว่า "Developing A Road To Peace And Happiness Through Prosperity" 


ขายได้มากกว่าสี่ล้านเล่ม


เป็นนักธุรกิจ นักประดิษฐ์ และนักเขียนชาวญี่ปุ่น ที่ประสบความสำเร็จและเดินทางในสายงานนี้มาอย่าง


ยาวนานและโชคโชน ผ่านทุกสถานการณ์ อย่างยุครุ่งเรืองของเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าฟุ่มเผือย ยุคพัฒนา


สงคราม เศรษฐกิจตกต่ำ การพัฒนาอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนผ่านยุคสมัย 


เป็นนักอุตสาหกรรมชาวญี่ปุ่นผู้ก่อตั้งพานาโซนิค ซึ่งเป็นบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น 


มัตสึชิตะได้รับการขนานนามว่าเป็น "เทพเจ้าแห่งการจัดการ" ในญี่ปุ่น


เรียกว่า บริษัท พีเอชพี รีเสิร์ช 


ก่อตั้งโรงเรียนการปกครองและเศรษฐศาสตร์มัตสึชิตะ มุ่งเน้นความพยายามในการฝึกอบรมนักการเมือง


เป็นโรงเรียนการเมืองที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2497 ผลิตบุคคลที่มีความสามารถจากทุกสาขาอาชีพ รวมถึงนักการเมือง


ปัญหาปอดเรื้อรังทำให้เขาเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวมเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2532 ขณะมีอายุได้ 94 ปี


น่าสนใจ

✅ Money Mastery มั่งคั่งทั้งชีวิต

✅ โอดะ โนบุนางะ มหาซามูไรแห่งญี่ปุ่น (Oda Nobunaga)

✅ 50 บุคคลผู้เปลี่ยนแปลงโลก

✅ โทกุงาวะ อิเอยาสึ Tokugawa Ieyasu

✅ เซเปียนส์ ประวัติย่อมมนุษยชาติ : Sapiens A Brief History of Humankind