หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

เซอร์ไอแซก นิวตัน Sir Isaac Newton

 


เซอร์ไอแซก นิวตัน Sir Isaac Newton

ประวัติเซอร์ไอแซก นิวตัน Sir Isaac Newton


นักดาราศาสตร์เอกของโลกและนักวิทยาศาสตร์เอกของโลกชาวอังกฤษ ไอแซก  นิวตัน เขามี

ความเชี่ยวชาญในหลายๆด้าน เช่น ฟิสิกส์, คณิตศาสตร์, ดาราศาสตร์, ปรัชญาธรรมชาติ, เล่นแร่

แปรธาตุ, เทววิทยา โดยผลงานของเขามีอยู่มากมาย ที่เด่นๆก็มีอย่างเช่น กฎแรงดึงดูดระหว่างมวล 

กฎการเคลื่อนที่ คณิตศาสตร์แคลคูลัส และทฤษฎีด้านแสง ทัศนศาสตร์ ความโน้มถ่วงสากล

เขาเป็นคนมีระเบียบรอบคอบและทุ่มเทในการทำงาน กว่าคนอื่นๆ การทำงานอย่างมีระบบ 

ระเบียบ แบบแผน  เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดแก่งานที่เขาทำ มีการจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ

เอาไว้เพื่อหาจุดบกพร่องอีกด้วย


เซอร์ไอแซก นิวตัน Sir Isaac Newton



ประวัติชีวิตของ ไอแซก นิวตัน 



- ไอแซค นิวตัน เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ.1642 ที่วูลส์ทอร์ป แคว้นลินคอล์นเชียร์ ประเทศอังกฤษ


- นิวตันกำพร้าบิดาตั้งแต่เกิด  มาตอนอายุ ได้ 3 ขวบ แม่ของนิวตันได้มีสามีใหม่และได้แต่งงานอยู่กับเขา


- สามีใหม่ของแม่นิวตันไม่ค่อยพอใจนักจึงบังคับให้เขาไปอยู่กับยายขอองนิวตันเอง


- ความสัมพันธ์กับยายเขาเองก็ไม่สู้จะดีนักทำให้ช่วงชีวิตในวัยเด็กของเขาไม่ค่อยจะเหมือนเด็กทั่วไปซักเท่าไหร่



- นิวตันเริ่มต้นเข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนในหมู่บ้าน เขาเป็นนักเรียนธรรมดาไม่ได้เป็นเด็กพิเศษแตกต่างอะไรกับคนอื่น



- ในช่วงมัธยมปลายเขาประสบปัญหาทางบ้านทางการเรียนเมื่อแม่ของเขาบอกให้เขาหยุดเรียนแล้วมาช่วยทำงาน

ในฟาร์มของครอบครัว


- แต่เขาก็ได้เรียนต่อมาจนจบมัธยมปลายจากการที่ลุงและครูใหญ่ของเขาได้ช่วยพูดกับแม่ของเขาให้


- เมื่ออายุได้ 19 ปี (1661) ไอแซกนิวตันได้เข้าศึกษาที่มหาลัยที่ดีที่สุดมีชื่อเสียงที่สุดของอังกฤษ คือ 

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์


- เขาต้องทำงานพิเศษคือทำงานเป็นพนักงานเสริฟอาหาร และ การทำความสะอาดหอพักนักศึกษาของมหาลัย

เนื่องจาก นิวตันมีฐานะยากจนและการเรียนที่เคมบริดจ์ ก็มีค่าใช้จ่ายสูงมาก


- นักปราชญ์ชาวกรีกไอแซค บาร์โรว (Issac Barrow) ที่ย้ายเข้ามาในช่วงปี ค.ศ. 1663 ได้ช่วยสอนนิวตัน และ

ทำให้ความเป็นอัจฉริยะของนิวตันเริ่มต้นฉายแววขึ้น


- นิวตันได้สอบชิงทุนการศึกษาและสอบได้เป็นที่ 1 จากผู้ที่เข้าสอบทั้งหมด 45 คน ในขณะนั้นเขามีอายุเพียง 22 ปี 


- นิวตันได้ศึกษาด้านปรัชญาและดาราศาสตร์ พื้นฐานความรู้เหล่านี้เสริมให้นิวตันคิดค้นวิชาคณิตศาสตร์ในแบบใหม่ๆ 

จนสุดท้าย สิ่งที่เขาทำได้กลายมาเป็น  วิชา แคลคูลัส ที่แสนยากเย็นของไครหลายๆคนในที่สุด ฮ่าๆๆ

 (แอบขำตัวเอง ตกแคลคูลัส)


- ปี 1665 เกิดการระบาดของกาฬโรคครั้งใหญ่ในอังกฤษทำให้ มหาวิทยาลัยได้ถูกปิดลง นิวตันและ

นักศึกษาต้องกลับบ้านของตัวเองไม่ได้เรียนต่อ


- เขาอาศัยอยูที่บ้านร่วม 2 ปี  เขาก็ได้ศึกษาค้นคว้าคณิตศาสตร์ชั้นสูง ความรู้ที่เกี่ยวกับแสง และแรงโน้มถ่วงโลก


- ช่วง 2 ปีที่อยู่ที่บ้านนี้เองนั้นเขาก็ได้ประสบความสำเร็จในงานวิทยาศาสตร์ถึง 3 อย่าง คือ สร้างคณิตศาสตร์

แคลคูลัส วิเคราะห์สเปกตรัมแสง และ กฎแรงโน้มถ่วงโลก


- 2 ปีที่อยู่ที่บ้านจนอายุ 25ปี มหาลัยจึงได้เปิดอีกครั้ง นิวตันได้กลับมาศึกษาต่อที่เคมบริดจ์ เรื่องน่ายินดี

ก็เกิดขึ้นจากงานที่เขาทำที่บ้าน


- ศาตราจารย์บาร์โรว ชอบงานที่เขาทำและผลักดันให้เขาได้รับปริญญาโท และถูกแต่งตั้งให้เป็นสมาชิก

แห่งวิทยาลัยตรินิตี้ (หนึ่งในวิทยาลัยของเคมบริดจ์)


- ในวัยแค่ 27 ปี นิวตันได้ดำรงตำแหน่งศาตราจารย์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งถือว่า เป็นศาตราจารย์ทางคณิตศาสตร์

ที่มีอายุน้อยที่สุด 


- ต่อมาเขาได้ศึกษาเรื่องแสง จนสามารถสร้าง กล้องโทรทรรศน์แบบใหม่ที่เรียกว่า 

"กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง"  ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงมากกว่ากล้อง โทรทรรศน์ของกาลิเลโอ ด้วยซ้ำ


- ในปี 1672 นิวตันได้รับการแต่งตั้งให้เข้าร่วมราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน (Royal Society of London) 

ขณะนั้นเขามีอายุได้ 30 ปี



- ในปี 1672 นิวตันได้เขียนบทความวิชาที่อธิบายถึงผลการค้นคว้าที่เกี่ยวกับสีและแสง โดยตีพิมพ์

ในวารสารของราชสมาคม 


- งานตีพิมพ์ของเขานั้นโดนวิจารณ์ในเชิงลบที่ไม่ดีจาก โรเบิร์ต ฮุก (นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำผู้หนึ่ง

ของอังกฤษ)


- เหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้ โรเบิร์ต ฮุก และ ไอแซก นิวตัน กลายมาเป็นศัตรูกันตลอดชีวิตของพวกเขา


- ปี 1684 นิวตันได้ทำสิ่งที่ถือว่าเป็นผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ คือการเขียนหนังสือเรื่อง"Principia"  

โดยหนังสือเล่มนี้อธิบายกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันทั้ง 3 ข้อและกฎแรงดึงดูดระหว่างมวลที่โด่งดังจน

มาถึงปัจจุบัน


- ในปี 1696 นิวตันได้รับเชิญจากพระเจ้าชาร์ลที่ 2 ให้เข้ารับดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงกษาปณ์ กรมธนารักษ์ 

ในวัย 54  ปี 


- จนมาถึงอายุ 61 ปี (1703 ) หลังจาก โรเบิร์ต ฮุก ศัตรูคู่อาฆาตของ นิวตัน ได้เสียชีวิต ในขณะที่เขา

ดำรงตำแหน่ง ประธานราชสมาคม ตำแหน่งจึงว่างลง ทำให้สมาชิกของราชสมาคมได้มีมติเลือกนิวตัน

เป็นประธานราชสมาคมแทนฮุก


- ในปี 1704 นิวตันได้เขียนหนังสือที่เกี่ยวกับความรู้ด้านแสง ซึ่งเป็นงานค้นคว้าของเขามาตั้งแต่ปี 1666

 หนังสือเล่มนั้นมีชื่อว่า "optics"


- ท่านเซอร์มาแล้ว ในขณะที่อายุได้ 63 ปี นิวตันก็ได้รับพระราชทานยศชั้นอัศวิน ในตำแหน่งเซอร์ 

จากสมเด็จพระราชินีแอน 


- ไอแซก นิวตัว เป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ได้ตำแหน่งนี้ เรียกเขาว่า เซอร์อเล็ก เฟอร์กู เอ้ย 

เซอร์ไอแซก นิวตัน


- นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ จบชีวิตลง


- นิวตันเสียชีวิตลงในวันที่ 20 มีนาคม 1727 ด้วยวัย 84 ปี ศพของเขาถูกฝังไว้ที่ วิหารเวสต์มินสเทอร์ 

แอบบี ในกรุงลอนดอน ซึ่งเป็นที่ฝังศพพระศพของกษัตริย์ ราชินี และเชื้อพระวงษ์ชั้นสูงเท่านั้น  

เป็นโบสถ์แม่ของคริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกในอังกฤษ และเวลส์ และยังเป็นโบสถ์มหานคร 

รวมถึงเป็นอาสนวิหารประจำตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งเวสต์มินสเตอร์